โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือ ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เกิดภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐาน และส่งผลให้เกิดการอักเสบต่อหลอดเลือด นำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อน เช่น ปลายประสาทมือเท้าอักเสบ เบาหวานขึ้นตา โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น อันจะนำมาซึ่งการเกิดภาวะทุพพลภาพ หรือเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากใครที่เป็นเบาหวานก็ควรจะต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อที่จะประคับประคองระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของบุคคลกลุ่มเสี่ยงได้อีกด้วย
ผู้เป็นโรคเบาหวาน ควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไรดี
ผู้เป็นโรคเบาหวาน สามารถรับประทานอาหารที่เหมือนกับบุคคลทั่วไปได้ เพียงแค่จะต้องใส่ใจในการเลือกรับประทานชนิดของอาหาร และจะต้องควบคุมปริมาณให้เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณที่พอดีและไม่มากจนเกินไป และหากผู้เป็นเบาหวานได้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ก็จะน้อยลงไปด้วย แต่ถึงอย่างไรแล้วผู้เป็นเบาหวานก็ควรที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารเบาหวานให้ครบ 5 หมู่เพื่อที่จะได้สารอาหารอย่างครบถ้วนมากที่สุด
อาหารที่ผู้เป็นเบาหวานควรรับประทาน
วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูอาหารที่ผู้เป็น โรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้ โดยมีดังนี้
1.อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
อาหารประเภทนี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้เป็นเบาหวานสามารถรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตได้ แต่ควรต้องกำหนดสัดส่วนให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย โดยเลือกรับประทานข้าวแป้งที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (จำพวกพวกไม่ขัดสี) เช่น ข้าวกล้อง,ข้าวซ้อมมือ หรือขนมปังโฮลวีท เป็นต้น เนื่องจากมีใยอาหารที่สูงช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดได้ และหากรับประทานผักที่มีปริมาณแป้งสูง เช่น ฟักทอง มันโดยนำมมารับประทานคู่กับข้าว เป็นกับข้าว เช่น ผัดฟักทอง, ต้มซุปไก่มันฝรั่ง เป็นต้น ควรลดประมาณข้าวลงหรือแลกเปลี่ยนกับปริมาณของข้าวที่รับประทาน
2.อาหารประเภทโปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยควรเลือก รับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำหรือไขมันต่ำมากเป็นหลัก เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง เนื้อปลาทะเล หรือเต้าหู้ เป็นต้น ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันสูง และผ่านกระบวนการแปรรูปและในผู้เป็นเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย ควรได้รับคำแนะนำการรับประทานจากแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร
3.ผักชนิดต่างๆ
ผักเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมากเนื่องจากอุดมไปด้วยใยอาหาร และวิตามินหรือแร่ธาตุ เป็นต้น และเลือกรับประทานอย่างหลากหลาย เนื่องจากให้พลังงานต่ำ และมีใยอาหารสูง โดยในผู้เป็นเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย ควรได้รับคำแนะนำการรับประทานจากแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร และจะต้องลดปริมาณผักบางชนิดที่มีปริมาณแป้งสูง อย่างเช่น การรับประทานมันเทศ เผือก แครอท ฟักทอง เพราะพืชจำพวกนี้จะมีแป้งในปริมาณที่สูงมากเลยทีเดียว จึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้
4.อาหารประเภทไขมัน
เนื่องจากไขมันเป็นแหล่งให้พลังงานสูงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงต้องจำกัดปริมาณการรับประทานหรือหลีกเลี่ยงอาหารเบาหวานที่ใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันพืชแทน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ไม่ควรที่จะใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื่องจากมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
5.ผลไม้
ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสชาติไม่หวานมากนัก และที่สำคัญจะต้องเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงด้วย เพื่อช่วยให้ร่างกายนั้นดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง และผลไม้สำหรับผู้เป็นเบาหวานก็จะมีกล้วย ฝรั่ง แอปเปิ้ล แก้วมังกร และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ โดยรับประทานครั้งละ 1 ส่วนต่อมื้อ โดยเทียบปริมาณผลไม้ใน 1 จานเล็ก เท่ากับ 1 ส่วน หรือตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร และควรหลีกเลี่ยงผลไม้กระป๋องและผลไม้อบแห้ง รวมถึงเครื่องจิ้มผลไม้ เช่น พริกเกลือ น้ำปลาหวาน เป็นต้น
เมนูแนะนำสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
หากเป็น โรคเบาหวาน รับประทานอาหารแบบไหนดีเพื่อที่จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้พุ่งสูงขึ้นจนเป็นอันตราย
- ข้าวต้มปลา ข้าวต้มไก่ ข้าวต้มกุ้ง ข้าวต้มหมู หรือโจ๊กต่างๆ แต่ไม่ควรรับประทานโจ๊กกระป๋องหรือโจ๊กซอง และควรเลือกข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ
- อาหารประเภทต้ม ควรเป็นเมนูที่มีผักเป็นส่วนประกอบหลักและจะต้องมีเนื้อสัตว์เพื่อช่วยเพิ่มโปรตีน โดยจะต้องไม่เน้นรสหวาน อย่างเช่น ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ ต้มจืดตำลึง ต้มจืดแตงกวา ต้มจับฉ่าย แกงเห็ด ต้มส้มปลาทู แกงเลียงกุ้งสด
- อาหารประเภทผัดโดยจะต้องใช้น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันมะกอกในการทำ เช่น ผัดผักรวมหมู ผัดบวบกุ้ง ผัดมะระใส่ไข่ ผัดถั่วฝักยาว ไก่ผัดขิง ผักคะน้าเห็ดฟาง ผัดพริกหอมใหญ่ ผัดขึ้นฉ่าย ผัดมะเขือยาวหมูสับ
- อาหารประเภทยำ ยำกุ้งสด ยำตำลึง ยำผักกระเฉด ยำเห็ดรวม ยำมะเขืออ่อน ยำไข่ต้มไส้ถั่ว ยำปลาทู ยำแซวม่อน ยำวุ้นเส้นยำถั่วพู
อาหารที่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทาน
ถึงแม้ว่าผู้เป็น โรคเบาหวาน จะสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายอย่างไม่ต่างกับคนปกติมากนัก แต่ก็มีอาหารบางอย่างที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แล้วยังอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่คนเป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยง ก็คือ
- เนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารทอดที่มีไขมันสูง
- ขนมหวานทุกชนิด น้ำหวาน น้ำอัดลม รวมถึงน้ำผลไม้กระป๋องด้วย เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูง
- ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน น้อยหน่า ขนุน ลำไย เป็นต้น
- อาหารหมักดอง ผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม เพราะมีทั้งน้ำตาลและปริมาณโซเดียมที่สูงมาก
- อาหารที่มีโซเดียมสูง ถึงแม้ว่าจะจำเป็นต่อร่างกายช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินกว่า 2000 มิลลิกรัมต่อวันก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันสูง เลือด ข้น หัวใจทำงานหนักขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง ซึ่งมักจะมีมากในอาหารแปรรูป หรือเครื่องปรุง เป็นต้น
ใครที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็ควรที่จะต้องปรึกษาแพทย์และไปติดตามเพื่อดูอาการกับแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ผู้เป็นเบาหวานจึงต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเสมอ โดยทุกท่านสามารถขอคำแนะนำที่ Modish Food Design ซึ่งจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักโภชนาการที่จะคอยรังสรรเมนูอาหารเบาหวานที่เหมาะสม โดยจะจัดเป็นคอร์สอาหารสำหรับผู้ป่วยตามแต่เฉพาะโรคโดยตรง ทำให้คุณได้รับประทานอาหารที่เหมาะกับสุขภาพของตนเองและช่วยบรรเทาอาการป่วยได้ และพร้อมที่จะส่งตรงถึงบ้านคุณอีกด้วย เพราะฉะนั้นห้ามพลาด
บริการด้านอาหาร: โรคเบาหวาน รับประทานอะไรได้บ้าง? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/catering-service/