เมื่อคิดจะซื้อรถยนต์คนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกซื้อด้วยการผ่อนชำระ มากกว่าการซื้อด้วยเงินสดทั้งก้อน และด้วยการที่ดอกเบี้ยรถยนต์คิดแบบดอกเบี้ยคงที่ ทำให้เราสามารถวางแผนการผ่อนชำระได้ง่าย และสามารถนำเงินก้อนที่มีไปสร้างประโยชน์อย่างอื่นก่อนได้ ดังนั้น เมื่อพูดถึงการซื้อรถเงินผ่อน เรื่องการวางเงินดาวน์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนจะซื้อรถใหม่ต้องคำนึงถึง เพราะยิ่งวางเงินดาวน์มากก็จะช่วยทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนน้อยลง และในทางกลับกัน หากวางเงินดาวน์น้อย ยอดผ่อนชำระต่อเดือนก็จะสูงขึ้นนั่นเองค่ะ และเพื่อที่จะให้เพื่อนๆ สามารถวางแผนการออกรถได้ง่ายขึ้น วันนี้ เราจะมาลองคำนวณกันดูว่า หากต้องการออกรถใหม่ 1 คัน การวางเงินดาวน์มาก-น้อย จะแตกต่างกันอย่างไร และส่งผลยังไงบ้าง
หากเราต้องการซื้อรถยนต์ Toyota Yaris ATIV Premium ราคา 669,000 บาท การวางเงินดาวน์ มากน้อยต่างกัน จะส่งผลต่อราคาอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
สมมติให้เลือกวางเงินดาวน์ได้ 3 ระดับ คือ 10%, 15%, 20% อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระ 60 งวด, 72 งวด และ 84 งวด คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนได้ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าการวางเงินดาวน์มากน้อยแตกต่างกัน ส่งผลดังนี้
ยอดจัดไฟแนนซ์ : ยิ่งวางเงินดาวน์เยอะ ยอดจัดไฟแนนซ์ก็จะยิ่งลดน้อยลง และเมื่อยอดจัดไฟแนนซ์ต่างกัน
การคิดดอกเบี้ย : การคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้น หรือยอดจัดไฟแนนซ์ที่สูงกว่าก็จะเสียดอกเบี้ยมากกว่า กระทบไปถึงยอดเงินผ่อนต่อเดือน
ยอดผ่อนต่อเดือน : เมื่อยอดเงินที่จัดไฟแนนซ์ และดอกเบี้ยสูงกว่า ยอดผ่อนต่อเดือนก็จะมากกว่าตามไปด้วย
ระยะเวลาผ่อนชำระ : หากเลือกระยะเวลาผ่อนชำระ หรืองวดชำระยาวนานขึ้น ยอดผ่อนต่อเดือนก็จะลดลง
สรุปแล้ว เมื่อคิดจะซื้อรถเงินผ่อน หากไม่ต้องการเสียดอกเบี้ยเยอะ ก็ควรวางเงินดาวน์สูงขึ้น และหากไม่ต้องการผ่อนต่อเดือนเยอะ ก็สามารถเลือกขยายระยะเวลาผ่อนให้นานขึ้นได้นะคะ ทั้งนี้ การซื้อรถยนต์ 1 คัน ก็ถือเป็นภาระผูกพันในระยะยาวที่ผู้ซื้อรถมีหน้าที่ต้องผ่อนชำระเป็นรายเดือนไปเรื่อยๆ จนครบกำหนดสัญญา ดังนั้น ควรทำการประเมินสินเชื่อรถยนต์ในเบื้องต้นก่อน เพื่อเลือกจำนวนเงินดาวน์ และระยะเวลาผ่อนที่เหมาะสม และจะได้วางแผนทางการเงิน ตั้งแต่การวางเงินดาวน์ไปจนถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือน ให้ครอบคลุมวงเงินที่เราสามารถจ่ายไหวด้วยนะคะ
รถแลกเงิน: เช็คหมดเปลือก ก่อนซื้อรถใหม่ ดาวน์น้อย ดาวน์มาก ต่างกันแค่ไหน? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.checkraka.com/money/article/111512