วิธีการให้ยาทางสายยางให้อาหารสายยาง ! ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ บางครั้งก็ต้องรับยาเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาหารเจ็บป่วย หลายคนสงสัยว่า เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว จะสามารถรับประทานยาได้ด้วยวิธีใด ซึ่งการรับประทานยานั้น สามารถให้ยาทางสายยางให้อาหารได้เลย ซึ่งในการให้ยาทางสายยางนั้นจะต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลในเรื่องของการให้ยาแก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ไม่สามารุรับประทานอาหารเองได้จะต้องได้รับสารอาหารที่พียงพอต่อร่างกายและยาที่ต้องรับเพื่อรักษาอาการป่วย
สำหรับการให้ยาทางสายยางให้อาหารนั้นมักจะพบปัญหาได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น การอุดตันของสายยางให้อาหาร เมื่อให้ อาหารสายยาง การเกิดพิษจากยา ประสิทธิภาพของยาลดลง หรือทำให้การดูดซึมของยาลดลง การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย รวมถึงการเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถพบได้ในการให้ยาทางสายยางให้อาหาร จึงต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
เพราะถ้าเกิดข้อผิดพลาด หรือยาอาจจะไม่ดูดซึมอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้ เพราะยาบางชนิดผู้ป่วยจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ดุแลหรือแพทย์ควรสังเกตอาการของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับยาด้วย เพื่อป้องกันการเกิดสิ่งผิดปกติ หรือยาที่ให้ไปอาจจะมีประสิทธิภาพที่ลดลงได้ ถ้าเกิดความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการเปลี่ยนวิธีการบริหารยา ให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ถ้าหากมีการสั่งให้ยาผ่านทางสายยางให้อาหาร ควรจะพิจารณาถึงความจำเป็นและเป้าหมายของการรักษาด้วย เพราะเนื่องจากยาบางชนิดสามารถหยุดให้ชั่วคราวได้ โดยไม่มีผลร้ายแรงต่อการรักษาหรือกับร่างกายผู้ป่วย ผู้ดูแลหรือแพทย์ควรพิจารณาว่าสามารถบริหารยาได้โดยวิธีอื่นได้หรือไม่ เช่น การฉีด สูดพ่น และข้อที่สำคัญที่สุดคือ ควรพิจารณายาในรูปแบบด้วย เพราะยาเม็ดบางชนิดห้ามบดหรือทำให้เม็ดยาแตก ยาบางชนิดถูกออกแบบให้ผ่านกระเพาะอาหารไปปลดปล่อยและดูดซึมในลำไส้เพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทั้งยังเป็นการป้องกันการถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหารด้วย และเพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันของสายยางให้อาหารด้วย ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการบริหารยาทางสายยางให้อาหาร จะต้องทราบถึงวิธีการให้ยาแก่ผู้ป่วยที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาถึงผลข้างเคียงในหลายๆเรื่อง เพราะการให้อาหารหรือยาทางสายยางให้อาหารควรจะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของความสะอาดด้วย เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อได้ เรื่องความสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการให้อาหารทางสายยาง
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่จำเป็นตองใช้ยาเม็ดผ่านทางสายให้อาหาร ผู้ดูแลควรพิจารณาว่ายาสามารถบดได้หรือไม่โดยยาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่น simple compressed tablet เป็นยาเม็ดที่ไม่มีการเคลือบ ยาเม็ดเคลือบน้ำตาลหรือเคลือบฟิล์ม มักมีวัตถุประสงค์เพื่อกลบรสขมของยา สามารถบดเป็นผงได้ sublingual tablet (ยาใช้อมใต้ลิ้น) การบดเม็ดยาและให้ทางสายอาหารจะทำให้ ประสิทธิภาพหรือฤทธิ์ของยาลดลง จึงควรให้อมใต้ลิ้นไม่ตองบดให้ทางสายให้อาหาร enteric-coated tablet เป็นรูปแบบยาที่ต้องการให้เกิดการดูดซึมที่ลำไส้เล็กหรือป้องกันกรดในกระเพาะอาหารทำลายยา
การบดเม็ดยาจะทำลายคุณสมบัติเหล่านี้ ในกรณีที่จำเป็นอาจจะบดเม็ดยาได้ แต่ยาบางชนิดอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และรูปแบบสุดท้าย extended-released tablet การบดเม็ดยาทำให้คุณสมบัติในการปลดปล่อยตัวยาเสียไป และอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ การให้ยาทางสายยางให้อาหาร ก็ยังมีข้อจำกัดด้วย คือ ห้ามผสมยารวมกับอาหาร ควรหยุดการให้อาหารขณะให้ยา สําหรับ continuous feeding ควรเลือกรูปแบบยาน้ำก่อน และผู้ดูแลจะต้องเตรียมยาตามความเหมาะสมกับรูปแบบของยา นอกจากนี้ควรบดยาให้เป็นผงละเอียดและกระจายผงยาในน้ำก่อนใส่ในสายยาง ข้อแนะนำข้างต้นนี้ ผู้ดุแลจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอันตรายในการรับยาของผู้ป่วย