โรคจอตาบวมน้ำ เป็นโรคตาที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค อาการที่สังเกตได้ คือ การมองเห็นวงดำกลางตาเวลามอง หรือมองเห็นภาพเบี้ยว
โรคจอตาบวมน้ำ คืออะไร
โรคทางตานอกจากสาเหตุจากเชื้อโรครอบตัวเราแล้ว อาจเกิดจากภาวะผิดปกติของร่างกายได้เช่นกัน เช่น โรคจอตาบวมน้ำที่ไม่ได้มีสาเหตุการเกิดจากเชื้อโรค จะพบได้ในผู้ที่มีช่วงอายุ 25-55 ปี เพศชายมากกว่าเพศหญิง และในกลุ่มผู้ที่จริงจังกับชีวิตและเครียดง่าย การใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่มสเตอรอยด์
สาเหตุของโรคจอตาบวมน้ำ
โรคจอตาบวมน้ำ มาจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ในจอประสาทตาทำให้มีการรั่วของสารน้ำเข้ามาในชั้นใต้ต่อจอตา จึงเกิดการบวมน้ำขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาวะความเครียด กลุ่มผู้มีบุคลิกภาพจริงจังกับชีวิตค่อนข้างเครียด ( Type A personality) ซึ่งนอกจากความเครียดแล้ว ยาบางชนิดเช่น ยารักษาผู้ป่วยทางจิตเวช ยาสเตอรอยด์ รวมทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก เช่น การสูบบุหรี่
อาการของโรคจอตาบวมน้ำ
อาการของโรคจอตาบวมน้ำว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ ดังนี้
มองเห็นวงดำบริเวณกลางตาเวลามอง หรืออ่านหนังสือ
บางรายเห็นเป็นภาพเบี้ยว
วิธีรักษาโรคจอตาบวมน้ำ
แนวทางการรักษาคือควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น
การใช้ยาสเตอรอยด์
พยายามลดหลีกเลี่ยงความเครียด
ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายที่มีพฤติการณ์สูบบุหรี่ควรลดสูบบุหรี่
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80-90 % จะสามารถกลับมามองเห็นได้ปกติ ภายใต้การดูแลรักษาของจักษุแพทย์
6 สัญญาณอันตราย “กินยา” มากเกินไปจน “ตับพัง”
ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุม หรือรักษาโรคอยู่เป็นประจำ และเป็นที่ทราบกันดีกว่าการกินยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อตับได้ หากคุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่กินยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ลองสังเกตตัวเองดูว่าเสี่ยงตับถูกทำลายหรือไม่
สัญญาณอันตราย “กินยา” มากเกินไปจน “ตับพัง”
อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ตาเหลือง
ท้องโต
มีจ้ำเลือดในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
ตัวอย่างยาที่กินแล้วอาจทำให้ตับทำงานผิดปกติ
ยาลดไขมันในเลือด
ยาแก้ปวดอักเสบของข้อ และกล้ามเนื้อ
ยารักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย / ไวรัส / เชื้อรา
ยารักษาวัณโรค
ยากันชัก
ยากดภูมิคุ้มกัน (รักษาโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือโรคข้ออักเสบ)
ฮอร์โมนเพศ
วิธีกินยาปฏิชีวนะอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงโรคตับ
ในผู้ป่วยหลายรายที่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน และกังวลว่าจะส่งผลเสียต่อตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุด หรือเปลี่ยนยากินเอง การหยุดยา หรือเปลี่ยนยากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาจส่งผลให้โรค หรืออาการที่เป็นอยู่กลับมาแย่กว่าเดิม และยังเสี่ยงดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ควรติดตาอาการกับแพทย์ประจำตัวอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
ดูแลสุขภาพ: รู้จักโรค "จอตาบวมน้ำ" แค่เครียดก็เป็นได้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.healthyhitech.net/