รากฟันเทียม คือ รากฟันถูกที่สร้างขึ้นมาทำหน้าที่ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป คนไข้จะได้รับการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมที่ทำจากวัสดุไททาเนียม แบบพิเศษที่ใช้ในวงการทันตกรรม ยึดติดกับกระดูกขากรรไกร รากเทียมจะผสานเข้ากับเนื้อเยื่อในช่องปากได้เป็นอย่างดี ทำหน้าที่ได้เหมือนกับรากฟันของจริง
รากฟันเทียมทำจากอะไร
เราแบ่งส่วนประกอบของรากฟันเทียมเป็น 3 ส่วน คือ
รากฟันเทียมทำจากอะไรรากฟันเทียมทำจากอะไร
ราก (Fixture) มีลักษณะคล้ายสกรู ทำหน้าที่เป็นรากฟันที่เชื่อมติดกับกระดูกขากรรไกร รากฟันทำจากวัสดุไทเทเนียม (Titanium) ที่เข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อให้ความแข็งแรง ทนแรงบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แกนฟัน (Abutment) อยู่ตรงกลางระหว่างรากและครอบฟัน เปรียบเสมือนโครงสร้างแกนฟันหลัก ทำหน้าที่เป็นตัวยึดรากฟันไทเทเนียมกับครอบฟันให้มั่นคง
ครอบฟัน (Crown) ผลิตจากเซรามิก ทำรูปร่างและสีให้เหมือนฟันธรรมชาติ
ครอบฟัน (Crown)ครอบฟัน (Crown)
รากฟันเทียมมีกี่แบบ
รากฟันเทียมมี 3 แบบ
รากฟันเทียมซี่เดียว (Single Dental Implant)
การทำรากฟันเทียมฟันซี่เดียว จะชดเชยฟันที่หายไปทั้งซี่ตั้งเเต่รากฟันจนถึงตัวฟัน
การทำรากฟันเทียมแบบซี่เดียวเหมาะกับคนไข้มีฟันซี่เดียวหายไปหรือหลายซี่ที่ไม่ได้อยู่ติดกัน
รากฟันเทียมหลายซี่ (Implant-supported bridge)
การทำรากฟันเทียมหลายซี่ ใช้การติดสะพานฟันที่รองรับรากฟันเทียม ซึ่งมีแกนฟันที่เชื่อมต่อระหว่างรากฟันเทียมและสะพานฟัน เพื่อชดเชยฟันที่หายไปจำนวน 2 ซี่ขึ้นไปที่อยู่ติดกัน โดยใช้สะพานฟันเป็นตัวปิดช่องว่างตรงกลางของฟันซี่ที่หายไป
เหมาะกับคนไข้ที่สูญเสียฟันหลายซี่ที่อยู่ติดกัน
รากฟันเทียมทั้งปาก (Implant-Retained Denture)
รากฟันเทียมทั้งปาก จะถูกวางเรียงบนแนวเหงือกของคนไข้ เพื่อทดแทนฟันบนหรือฟันล่างทั้งชุด ทันตแพทย์จะวางรากฟันเทียมสี่จุดตามแนวโค้งขากรรไกร ในขั้นตอนการขณะรักษา ฟันปลอมอาจได้รับการปรับแก้ไขเพื่อให้สามารถสวมใส่ได้พอดีกับกระดูกที่ผสานตัวกับรากเทียม
หลักการทำงานของรากฟันเทียม
รากฟันเทียม บริเวณตัวรากมีลักษณะคล้ายสกรูทำจากไทเทเนียม จะถูกฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร มีแกนฟันเชื่อมต่อตัวรากเเละครอบฟันหรือสะพานฟันเข้าด้วยกัน
รากฟันไทเทเนียมสามารถผสานกับเนื้อเยื่อกระดูกจากรรไกรรได้อย่างดี ช่วยรองรับ
แรงบดเคี้ยวอาหารได้เป็นอย่างดีเหมือนกับฟันธรรมชาติ
ข้อดี รากฟันเทียม
เมื่อสูญเสียฟันแท้ไป ปัญหาที่ตามมาคือมีช่องว่างในฟันเกิดขึ้น ทำให้ฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียงล้มได้ การทำรากเทียมมีข้อดีคือ
ป้องกันฟันล้มหรือฟันเอียงที่เกิดจากการสูญเสียฟัน
เสริมสร้างความแข็งแรงเเละสุขอนามัยในช่องปาก
เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนฟันธรรมชาติ
เสริมบุคลิกภาพ คืนรอยยิ้มที่สวยงาม สร้างความมั่นใจ
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการพูด
แก้ปัญหาที่เจอจากการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ เช่น ฟันปลอมหลวม เห็นตะขอเกี่ยว เคี้ยวอาหารติดขัด กังวลว่าฟันปลอมจะหลุดขณะเคี้ยวอาหาร/สนทนา
ความเสี่ยงในการทำรากฟันเทียม
การผ่าตัดโดยทั่วไปอาจพบเสี่ยงได้จากการดูแลแผลเปิดได้ ในส่วนของการผ่าจัดทำรากฟันเทียมก็เช่นกัน ถึงเเม้จะพบได้ไม่บ่อยและ สามารถรักษาได้
– การติดเชื้อที่บริเวณรากฟันเทียม
– การปวดบวมระบม เนื่องจากผ่าตัดกระสบโครงสร้างโดยรอบ เช่น ฟัน หลอดเลือดอื่นๆ
– ปัญหาไซนัสเมื่อรากฟันเทียมที่ขากรรไกรบน เข้าไปในโพรงไซนัส
ความเสี่ยงในการทำรากฟันเทียม
แต่คุณไม่ต้องกังวลไปเพราะ ทันตแพทย์จะทำความสะอาดพื้นที่ผิวก่อนผ่าตัด และให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อ และหลังผ่าตัดจะมีการนัดหมายคนไข้ ติดตามผลหลังผ่าตัด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อในภายหลัง
ในเคสพิเศษที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ไซนัส จะมีการตรวจเช็คสุขภาพคนไข้ ถ้าคนไข้มีไซนัส จะทำการยกผนังไซนัส (Sinus Augmentation, Sinus Lift) เพิ่มเติม
เตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม
ปรึกษาทันตแพทย์ คุณหมอพิจารณาว่าความเหมาะสมของคนไข้ทำรากฟันเทียม มีการทำการเอ็กซเรย์ฟัน หรือทำ CT Scan สแกนภาพ 3 มิติ ตรวจสภาพกระดูก อาจมีการทำพิมพ์ปาก และเช็คประวัติคนไข้ เพื่อนำมาวางแผนขั้นตอนการรักษาให้เหมาะสมปลอดภัยกับคนไข้
กำหนดนัดหมายวันผ่าตัด คนไข้ควรวางแผนเตรียมพักฟื้น ดูเเลช่องปากหลังผ่าตัดให้ดี
– เตรียมอาหารอ่อนๆ และยาแก้ปวด
– หยุดพักงาน 1-2 วันแรก
– พักออกกำลังกายหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์
เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการผ่าตัด พักผ่อนให้เพียงพอ คนไข้ต้องอดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
ขั้นตอนในการรักษารากฟันเทียมในการมาพบที่คลินิกเพื่อสรุปเบื้องต้นในการรักษา
พบทันตแพทย์เพื่อดูความเหมาะสม
มีการเอ็กซ์เรย์ฟัน (X-rays, panoramic films, CT scans) ตรวจมวลกระดูก เพื่อเตรียมแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ คุณหมอจะเป็นคอยแนะนำผู้ป่วยถึงวิธีการเตรียมตัวสำหรับการรักษาแต่ละขั้นตอน
ตัวอย่างเช่น
– คนไข้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติดี คุณหมอสามารถวางรากฟันเทียมและแกนโครงสร้างฟันเทียมภายในผ่าตัดครั้งเดียว หรือบางกรณีคุณหมออาจใส่ครอบฟันควบคู่ไปกับรากฟันเทียมก็ได้
– กรณีคนไข้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีเคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ คุณหมอจะให้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการผ่าตัดช่องปากแต่ละครั้ง
– กรณีคนไข้มีอาการแพ้ยาชา หรือคนไข้มีการใช้ยาที่มีผลต่อยาสลบในการผ่าตัดทำรากเทียม คุณหมอจะต้องปรับแผนการรักษา
– กรณีคนไข้ที่ต้องเตรียมความพร้อมกระดูกขากรรไกรสำหรับวางรากฟันเทียม คุณหมอจะเพิ่มขั้นตอนการปลูกถ่ายกระดูก หรือปรับกรามให้เข้ากับแผนการรักษา
พบทันตแพทย์เพื่อดูความเหมาะสม
เตรียมตำแหน่งที่จะผ่าตัดรากฟันเทียมให้พร้อม
1. ทันตแพทย์จะทำการปลูกถ่ายกระดูก(Bone Graft) หากความหนาของกระดูกขากรรไกรบางหรืออ่อนเกินไปที่จะใส่รากฟันเทียม เเละปรับปรับรูปร่างได้เพื่อให้รากฟันเทียมยึดเกาะกับกระดูกได้ดี
2. หากพบว่ามีฟันคุด (Impacted Teeth) หรือฟันที่เสียหายซี่อื่น คุณหมอจะทำการถอนฟันร่วมด้วย ในขั้นตอนนี้ต้องรอให้กระดูกขากรรไกรที่ปลูกถ่ายฟื้นฟูเเละพร้อมสำหรับทำรากฟันเทียมในลำดับต่อไป
3. ทันตแพทย์เตรียมฝังรากเทียม
คุณหมอจะให้ยาชา เริ่มผ่าตัดเหงือกเเละฝั่งรากฟันเทียมไทเทียมลงไปที่กระดูกขากรรไกร เมื่อผ่าตัดเรียบร้อยคุณหมอจะครอบปิดรากฟันด้วย Healing cap และเย็บปิดแผลให้เรียบร้อย
ช่วงประมาณ 2-6 เดือน รากฟันเทียมจะค่อยๆ ผสานตัวยึดติดกับกระดูกขากรรไกร คนไข้ควรดูเเลตัวเองไม่ใช้แรงกัดที่จะกระทบกระเทือนกับรากฟันเทียมทันตแพทย์เตรียมฝังรากเทียม
4. ทันตแพทย์นัดทำครอบฟัน
หลังจากฝังรากเทียม 2-3 เดือน คุณหมอจะนัดพิมพ์ปากคนไข้และส่งให้แล็ปทันตกรรม เพื่อทำครอบฟัน (Crown) หลังจากนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ คุณหมอจะนัดเพื่อติดครอบฟัน
5. ทันตแพทย์ติดตั้งครอบฟัน
เมื่อตรวจสอบเเล้วว่ารากฟันเทียมที่ผ่าตัด ฝังเข้ากันกับกระดูกรอบข้างได้เรียบร้อยดีเเล้ว คุณหมอจะติดตั้งโครงสร้างแกนกลาง (Abutment) เเละสวมครอบ ฟันติดเข้าไปที่แกนฟัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อยทันตแพทย์ติดตั้งครอบฟัน
6. ทันตแพทย์นัดติดตามผลการรักษา
ทันตแพทย์ นัดคนไข้เพื่อติดตามผลหลังผ่าตัด ภายใน 1-2 เดือน ช่วงเเรก เเละนัดตรวจประจำปี เพื่อเช็คสุขภาพโดยรวมของช่องปากตามปกติ
รากฟันเทียมวันเดียวเสร็จ: รากฟันเทียมทำจากอะไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/3pByrTB